วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

งานประเพณีบวชลูกแก้ว ( ปอยส่างลอง ) ของวัดกู่เต้า


                                             credit: photo.lannaphotoclub.com


               ปอยส่างลองหรืองานบวชลูกแก้วนั้นเป็นพิธีการเฉลิมฉลองของการบรรพชาสามเณรในซึ่งปกติจะมีการจัดงานอยู่ประมาณสามวัน แต่หากผู้ที่ทำการบวชนั้นมีฐานะดีก็จะมีการฉลองยาวนานเป็น 5 หรือ 7วันได้ ซึ่งงานดังกล่าวนี้จะนิยมจัดขึ้นในช่วงปลายเดือนมีนาคม หรือเดือนเมษายนซึ่งเป็นช่วงหน้าแล้งที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ว่างเว้นจากการทำนาทำไร่ และเป็นช่วงปิดเทอมภาคฤดูร้อนของเด็กๆด้วย โดยประเพณีปอยส่างลองนี้เป็นประเพณีของคนไทยซึ่งมีเชื้อสายเป็นชาวไทใหญ่ ดังนั้นเราจึงจะพบเห็นประเพณีนี้กันมากในจังหวัดแม่ฮ่องสอน และในบางส่วนของภาคเหนือ รวมทั้งจังหวัดเชียงใหม่ด้วย
ในการบรรพชาเป็นสามเณรนั้นก็เพื่อศึกษาพุทธธรรมและเพื่อเป็นการทดแทนคุณบิดามารดา 


                                                 credit: photo.lannaphotoclub.com


การบวชลูกแก้ว - ปอยส่างลอง หรือ ประเพณีบรรพชาสามเณรตามแบบล้านนา - ไทใหญ่
เป็นงานสำคัญของชาวไทใหญ่ เพื่อให้บุตรหลานได้มีโอกาสศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
และมีความเชื่อว่า ได้กุศลแรกกว่าการอุปสมบทพระภิกษุ การจัดงานจะมีสามวัน

                                                      วันที่ ๑
นำบรรดาเด็กชายมาเข้าพิธีโกนแต่ไม่โกนคิ้ว (พระพม่าไม่โกนคิ้ว) แต่งหน้าทาปาก
สวมเสื้อผ้าอาภรณ์สวยงาม และโผกผ้าแบบพม่า ประดับด้วยมวยผมของบรรพบุรุษที่เก็บรักษาไว้
แล้วตกแต่งด้วยดอกไม้ เสร็จแล้วนำเด็กน้อยซึ่งตอนนี้เรียกว่า "ส่างลอย หรือ ลูกแก้ว" ไปขอขมา
และรับศีลรับพรตามบ้านญาติผู้ใหญ่ที่นับถือ

                                                      วันที่ ๒
มีการแห่ส่างลอง หรือ ลูกแก้ว กับขบวนเครื่องไทยทานไปตามถนนสายต่างๆ จะมีผู้มาร่วมขบวนมากมาย
โดยให้ส่างลอง หรือ ลูกแก้ว ขี่ม้าหรือถ้าไม่มีม้าก็จะขี่คอคน ซึ่งเรียกว่า "พี่เลี้ยง" หรือ "ตะแปส่างลอง"

                                                      วันที่ ๓
จะแห่ส่างลองไปตามถนนอีกครั้ง จากนั้นก็ไปรวมกันที่วัดเพื่อทำพิธีบวชเป็นสามเณรที่วัด
ตามคติความเชื่อของทางล้านนา - ไทใหญ่ มีความเชื่อว่าบวชเณรได้กุศลอันยิ่งใหญ่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น