วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ไปวัดกู่เต้า ตามรอย (ลูก) บุเรงนอง / history and information

พญามังรายสร้างเมืองเชียงใหม่ได้ 262 ปี ถึงพ.ศ. 2101 พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองกษัตรย์พม่าได้ยกกองทัพมาตีเชียงใหม่และล้านนา และสามารถยึดเชียงใหม่ได้อย่างง่ายดายเนื่องจากบ้านเมืองขณะนั้นอ่อนแอที่สุด เสนาอามาตย์แตกความสามัคคี กษัตริย์ไม่สามารถบริหารบ้านเมืองให้เป็นปกติได้
หลังจากยึดครองเชียงใหม่และล้านนาได้แล้ว พระเจ้าบุเรงนองทรงจัดการปกครองเชียงใหม่และล้านนาแบบประเทศราช ทรงตั้งพระเมกุฎิครองเมืองเชียงใหม่ต่อไปตามเดิม
พ.ศ.2106 พม่ายกกองทัพรบกับกรุงศรีอยุธยา โดยเกณฑ์กองทัพเชียงใหม่ไปช่วยรบ เห็นว่าพระเมกุฎิไม่ได้ช่วยรบอย่างจริงจัง ทั้งยังพยายามแยกตัวเป็นอิสระจากพม่า
พม่าจึงยกไพร่พลมาควบคุมเชียงใหม่ จับตัวพระเมกุฎิ นำไปไว้ยังเมืองหงสาวดีเมื่อพ.ศ.2107 แล้วตั้งพระนางวิสุทธิเทวี พระธิดาพญาเมืองเกษเกล้า ซึ่งถูกนำตัวไปเป็นชายาพระเจ้าบุเรงนองให้มาครองเมืองเชียงใหม่
พระนางวิสุทธิเทวีนับเป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์มังรายองค์สุดท้าย เพราะเมื่อสิ้นพระนางแล้ว พระเจ้าหงสาวดีทรงแต่งตั้งฟ้าสาวัตถี นรถามังคอย หรือมังนรธาช่อ พระโอรสที่เกิดจากพระนางวิสุทธิเทวีมาครองเมืองเชียงใหม่ (พ.ศ.2121-2150)
ประมาณพ.ศ.2140 มังนรธาช่อ เจ้าเมืองเชียงใหม่ ถวายเครื่องราชบรรณาการยอมอ่อนน้อมต่อกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวร เพราะพระเจ้ากรุงหงสาวดีนันทบุเรงทรงบัญชาให้ทัพเชียงใหม่ไปตีกรุงศรีอยุธยา มังนรธาช่อคงประเมินดูแล้วว่า กรุงศรีอยุธยาเข้มแข็งขึ้นมาก ขณะที่กรุงหงสาวดีอ่อนแอลง หากทำสงครามกับกรุงศรีอยุธยา กรุงหงสาวดีคงไม่สามารถคุ้มครองเมืองเชียงใหม่ได้ เมื่อสาวมิภักดิ์กรุงศรีอยุธยาแล้ว สมเด็จพระนเรศวรทรงให้มังนรธาช่อครองเมืองเชียงใหม่ต่อไป และทรงจัดการเมืองต่างๆในล้านนาที่แข็งเมืองต่อเชียงใหม่ด้วยเห็นว่าเป็นพม่า ให้กลับมาอยู่ในอำนาจปกครองของเชียงใหม่ตามเดิม รวมทั้งทรงห้ามทัพล้านช้างที่ยกมาตีเชียงใหม่
มังนรธาช่อครองเชียงใหม่จนสิ้นอายุ เมื่อสิ้นมังนรธาช่อ อนุชาได้นำอัฐิมาเก็บในกู่ที่ก่อขึ้นเป็นรูปคล้ายน้ำเต้า และสร้างวัดชึ้น ณ ที่นั้น เรียกว่าวัดเวฬุวัน หรือวัดกู่เต้า

 

วัดกู่เต้าตั้งอยู่ที่ตำบลศรีภูมิ ใกล้สนามกีฬาเทศบาลนครเชียงใหม่ เป็นวัดที่มีชื่ออยู่ในประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ ว่าเป็นที่บรรจุอัฐิราชบุตรของพระเจ้าบุเรงนอง ที่ชื่อ มังนรธาช่อ หรือสำเนียงพม่าว่า นรทามางจอ ซึ่งถูกส่งมาครองเชียงใหม่ในช่วงปี พ.ศ. 2122-2156
เมื่อสิ้นพระชมน์ลง พระมหามังชวยเทา ซึ่งเป็นพระอนุชาได้จัดถวายเพลิงพระศพ และโปรดให้สร้างสถูปเจดีย์กู่เต้าเพื่อบรรจุอัฐิและพระอังคารธาตุ และโปรดให้สร้างวัดขึ้นมาในบริเวณดงก่อใผ่ จึงได้ชื่อว่าวัดเวฬุวันกู่เต้า ซึ่งชาวบ้านจะเรียกสั้นๆว่า วัดกู่เต้า ปัจจุบันมีชื่อเป็นทางการว่า วัดเวฬุวันวนาราม

เจดีย์กู่เต้านี้มีลักษณะแปลกไปกว่าเจดีย์อื่นๆ ในเมืองไทย คือรูปร่างคล้ายกับผลแตงโมวางซ้อนกันไว้หลายๆ ลูก
 

ตัวเจดีย์จะมีรูปร่างคล้ายบาตรพระหรือผลแตงโมซ้อนลดหลั่นขึ้นไป 5 ชั้น ประดับด้วยเครื่องดินเผาเคลือบประดับกระจกจีนสีเงิน และทอง สันนิษฐานว่า คงจะบูรณะเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 24 บนยอดจะมีเจดีย์สีทององค์เล็กและมียอดฉัตรอยู่ตรงปลาย
เดิมทีเคยเชื่อกันว่า มังนรธาช่อ นี้เป็นราชบุตรของบุเรงนองกับพระนางวิสุทธิเทวี ที่เป็นเชื้อสายของพญามังราย และเป็นราชวงค์มังรายองค์สุดท้ายที่ครองเมืองเชียงใหม่ในฐานะประเทศราชของพม่า ประมาณปีพ.ศ 2107-2121

แต่จากหนังสือ "ขัตติยานีศรีล้านนา" ซึ่งเป็นข้อมูลใหม่ และเป็นไปได้ที่สุด ณ ตอนนี้ ระบุว่า "นอรธาสอ เป็นบุตรของพระเจ้าบุเรงนอง กับมเหสีราชเทวี ผู้เป็นธิดาของสตุกามณี แห่งดีมเยง มีพระนามเดิมว่า เชงทเวละ" ซึ่งไม่ใช่พระนางวิสุทธิเทวี





 






กู่เต้า จัดเป็นเจดีย์รูปแบบพิเศษ ลักษณะคล้ายน้ำเต้า หรือบาตพระซ้อนกัน 5 ชั้น มีซุ้มพระทั้งสี่ทิศทุกชั้นวางบนฐานสี่เหลี่ยมยกเก็จ ส่วนปลายมีปลียอดและฉัตรโลหะแบบพม่า

1 ความคิดเห็น: